10 ต.ค. 64 | อ่าน 1,781 ครั้ง
หน้าที่และอำนาจ
-
สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการกำกับดูแลที่ดี
-
สอบทานให้สำนักงานมีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
-
สอบทานการดำเนินงานของสำนักงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสำนักงาน
-
กำกับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในของสำนักงานให้มีความเป็นอิสระ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่
-
พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน
-
เสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ติดตามผลการปฏิบัติงานและพิจารณาค่าตอบแทนในการสอบบัญชี ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ใช้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
-
พิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานทางการเงิน
-
พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และประเมินผลงานของผู่้ตรวจสอบภายใน
-
จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของสำนักงาน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และให้มีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
-
พิจารณากฎบัตรของหน่วยตรวจสอบภายใน แผนการตรวจสอบและงบประมาณของหน่วยตรวจสอบภายใน
-
จัดหาที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ในการให้คำแนะนำหรือช่วยในการปฏิบัติงานตรวจสอบ โดยใช้ค่าใช้จ่ายของสำนักงาน
-
ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบ ผู้บริหาร ผู้ตรวจสอบภายใน และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น
-
จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
-
ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือที่คณะกรรมการมอบหมาย