Loading...
คุณกำลังมองหาอะไร?
คณะกรรมการ สมศ.

ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
รักษาการประธานกรรมการ
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ประธานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรรมการ
ดร.รอยล จิตรดอน
ดร.รอยล จิตรดอน
ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา
กรรมการ
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
ประธานกรรมการการอุดมศึกษา
กรรมการ
อยู่ระหว่างสรรหา
อยู่ระหว่างสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อยู่ระหว่างสรรหา
อยู่ระหว่างสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อยู่ระหว่างสรรหา
อยู่ระหว่างสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อยู่ระหว่างสรรหา
อยู่ระหว่างสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อยู่ระหว่างสรรหา
อยู่ระหว่างสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อยู่ระหว่างสรรหา
อยู่ระหว่างสรรหา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.นันทา หงวนตัด
ดร.นันทา หงวนตัด
กรรมการ
รักษาการผู้อำนวยการ
21 มี.ค. 65 | อ่าน 61,243 ครั้ง

พระราชกฤษฏีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2561 ในมาตรา 14 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา" ประกอบด้วย

  1. ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหาร มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสามคน ได้แก่ ประธานกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา และประธานกรรมการการอุดมศึกษา
  3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหาร มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหาร

  1. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงาน
  2. อนุมัติงบประมาณประจำปี งบการเงิน แผนการลงทุน และแผนการเงินของสำนักงาน
  3. กำหนดมาตรการการเผยแพร่ผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและต่อสาธารณชน
  4. ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอกและกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประเมินภายนอก
  5. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือประกาศเกี่ยวกับสำนักงานในเรื่องดังต่อไปนี้
    (ก) การบริหารงานทั่วไป การจัดแบ่งส่วนงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
    (ข) การสรรหา การแต่งตั้ง และการถอดถอนผู้อำนวยการ การปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ การรักษาการแทน และการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทน
    (ค) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง
    (ง) การกำหนดประมวลจริยธรรมในการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง
    (จ) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การพัฒนา การประเมินผลงาน การถอดถอนวินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างลูกจ้าง
    (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของสำนักงาน รวมทั้งการบัญชีและการจำหน่วยทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ
    (ช) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง
    (ช) การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
    (ฌ) การกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และผู้ตรวจสอบภายใน
    (ญ) การกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง และเครื่องหมายสำนักงาน 
  6. ให้ความเห็นชอบในการกำหนดค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนและค่าบริการในการดำเนินกิจการของสำนักงาน
  7. กระทำการอื่นใดที่จำเป็นต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสำนักงาน
  8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฏีกานี้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

61243

อ่าน